เมนู

เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้อันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือพวกเขา
จักพร้อมเพรียงกัน จักชื่นบานต่อกัน จักไม่วิวาทกัน จักเป็นดุจน้ำเจือ
ด้วยน้ำมัน จักมองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.
[426] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 เหล่านี้ ฯลฯ (เหมือน
ข้อ 413 ถึงข้อ 424) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญ-
เดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้น
เป็นอย่างไร. ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข บุคคล
ย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุข
ไว้ในความสุขทุกแห่ง ดังนี้.
จบ ภิกขุสูตรที่ 10
อรรถกถาภิกขุสูตรที่ 10
สูตรที่ 10 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ 10
จบ รโหคตวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. รโหคตสูตร 2. ปฐมวาตสูตร 3. ทุติยวาตสูตร 4. นิวาสสูตร
5.ปฐมอานันทสูตร 6. ทุติยอานันทสูตร 7. ปฐมสัมพหุลสูตร 8. ทุติย
สัมพหุลสูตร 9. ปัญจกังคสูตร 10. ภิกขุสูตร.

อัฏฐสตปริยายวรรคที่ 3



1. สิวกสูตร



ว่าด้วยสิวกปริพาชกทูลถามปัญหา



[427] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มี
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอยู่ไหน มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข
ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวล
นั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัส
อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสิวกะ เวทนาบางอย่าง
มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็น
สมุฏฐานเถิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี โลกสมมติว่า
เป็นของจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ย่อมแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริง
ในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ